อาหาร ผักผลไม้พื้นบ้านไทยต้านมะเร็ง(Anti-cancer Thai vegetables & fruits)
- มีรายการผักพื้นบ้านมากมาย เช่น ยอดผักจิ้มน้ำพริก แกงป่า แกงแค ส้มตำ ยำถั่วพลู น้ำพริกลงเรือ ข้าวยำ แกงเหลือง
- เหลือเชื่อนะครับว่า อาหารพื้นเมืองเหล่านี้ เป็นผักสมุนไพร ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ คือสารสำคัญในการต้านมะเร็งโดยตรง
- มีการศึกษาวิจัยและนำสารเคมีสกัดจากพืชเหล่านี้มาใช้เพื่อป้องกันมะเร็งกันอย่างแพร่หลายแล้วในปัจจุบัน
- สารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนติออกซิแดนท์ (antioxidants) เป็นสารป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดจากฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ (free radicals)
- ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของร่างกาย การเกิดโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ รวมถึงการช่วยชะลอความชราของทั้งร่างกายและผิวพรรณ >> อ่านเพิ่มเติม>>
- สารต้านอนุมูลอิสระในธรรมชาติ ได้แก่ วิตามิน ซี, วิตามิน อี, วิตามิน เอ หรือเบต้าคาโรทีน, ไบโอฟลาโวนอยด์ และแร่ธาตุบางชนิด เช่น สังกะสี และเซเลเนียม
ตัวอย่างสารต้านอนุมูลอิสระในผัก
- วิตามิน ซี เป็นสารอาหารที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย พบมากในผักสด ใบส่วนยอด และเมล็ดที่กำลังจะงอก เช่น ผักกาด ถั่วงอก หรือผักที่เป็นผล เช่น มะนาว ฝรั่ง มะขามป้อม
- วิตามิน อี ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย พบในพืชที่ให้น้ำมัน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด ธัญพืช เมล็ดงา ข้าวกล้อง รำข้าว และผักต่างๆ
- เบต้าแคโรทีน และคาโรทีนอยด์ พบมากใน ลูกเหลียง ดอกโสน ใบย่านาง มะละกอ มะรุม ยอดสะเดา มะม่วง ฟักทอง ผักแต้ว มะเขือเทศ หรือผักใบเขียวที่อุดมไปด้วยวิตามิน เอ เช่น ผักบุ้ง คะน้า
- สารเซเลเนียม เช่น กระเทียม หัวหอม ตัวอย่างพืชสมุนไพร
ตัวอย่างพืชสมุนไพร พืชผักพื้นบ้านต่างๆ ที่มีเบต้าแคโรทีน และแคโรทีนนอยด์สูง*
*ดัดแปลงจากข้อมูลในรายงานของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- “เห็นตารางข้างบนอย่างนี้แล้ว เวลาทานข้าวกะเพราอย่าเขี่ยใบกะเพราทิ้งเลยนะครับ เสียดายยาต้านมะเร็ง”
- นอกจากให้คุณค่าทางสารวิตามินดังกล่าวแล้ว พืชสมุนไพร พืชผักพื้นบ้านยังให้กากใยอาหาร (dietary fiber)มากพอ ซึ่งสามารถจะดูดซับไขมัน สารพิษ ลดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ช่วยการขับถ่าย ไม่ให้ท้องผูก ช่วยให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร ท้องผูกเรื้อรัง และมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
- ในพืชสีก็มียา สีของผักผลไม้ที่เราเห็นอยู่ คือ สารสีที่เป็นสารเคมีธรรมชาติ ที่เป็นทั้งยาและวิตามินสำหรับร่างกาย
- สีขาว : กระเทียม หัวหอมมีสารหลัก – Allyl Sulfides สารกำมะถันอินทรีย์ ประกอบด้วยกำมะถัน มีกลิ่นฉุน มีฤทธิ์ช่วยป้องกันการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต่างๆ ลดระดับโคเลสเตอรอล และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้
- สีเหลือง : สับปะรด ข้าวโพด มี Vitamin C, Flavonoids, Lutein, Zeaxanthin (แอนติออกซิแดนท์) เป็นสารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และป้องกันความเสื่อมของดวงตาโดยการบำรุงสารสีในเรตินา ที่ทำหน้าที่เป็นจอรับภาพของดวงตา
- สีเขียว : ผักโขม ผักกาด ถั่ว พริกสด คะน้า ผักบุ้ง มีสารหลัก คือ Chlorophyll (คลอโรฟิลล์) ซึ่งเป็นสาร ที่ช่วยกำจัดสารพิษ พวกโลหะหนัก และ กำจัดกลิ่นปาก ในสีเขียวก็มีสีเหลืองและสีน้ำเงิน เช่น เบต้าคาโรทีน ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระแลสารวิตามิน เอ บำรุงเนื้อเยื่อบุผิวและสายตา
- สีส้ม : แครอท สัม มีสารหลัก คือ วิตามิน เอ Alpha-carotene, carotenoiids, และ Beta-carotene และวิตามิน เอ บำรุงเนื้อเยื่อบุผิว Beta-carotene เป็นสารที่ช่วย ต้านอนุมูลอิสระ (แอนติออกซิแดนท์) และบำรุงดวงตาและทำให้สายตามองเห็นได้ในที่มืดสลัว
- สีแดง : มะเขือเทศ ฟักทอง มะละกอ แตงโม มีสารหลัก คือ lycopene (ไลโคปีน), phytoene เป็นสารยาที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ และสารช่วยยับยั้งการก่อเกิดของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งอื่นๆ
- สีม่วง : มะเขือม่วง มะเกี๋ยง มะเม่า องุ่น กระหล่ำสีม่วง มีสารหลัก คือ anthocyanins (แอนโธซัยยานิน), ellagic acid, flavonoids สามารถยับยั้งการเจริญของมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลิวคีเมียได้ และมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็งได้โดยกลไกต่างๆ
- เห็นคุณประโยชน์ขนาดนี้แล้ว หันมาทานผักผลไม้ไทยกันให้เยอะๆ เถอะครับ เพราะหาง่าย ราคาถูก ให้ทั้งสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายและยังเป็นยาที่ป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคได้ด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พืชสมุนไพรและอาหารผักพื้นบ้านป้องกันโรคมะเร็งได้ ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3
- พืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่นำมาทำเป็นอาหาร ได้แก่ พรรณพืชผักหรือพรรณพืชไม้ ที่เจริญในท้องถิ่นและชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นอาหารประจำ เกิด ตามแหล่งธรรมชาติ ป่าดอย ภูเขา ห้วยบึง ริมน้ำ หรือถูกนำมาปลูกไว้เพื่อสะดวกในการเก็บบริโภค ผักพื้นบ้านมีชื่อเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และนำไปปรุงเป็นอาหารพื้นเมืองให้มีรสชาติตามวิธีเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ พืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านในประเทศไทยนั้นเดิมมีถึงมากกว่า300 ชนิด พบว่า ในภาคเหนือมีประมาณ 120 ชนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประมาณ 130 ชนิด ภาคใต้มีมากที่สุด ประมาณ 158 ชนิด พืชผักเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนำแทบทุกส่วนของต้น ยอดใบอ่อน ดอก ผล เมล็ด หัวและราก มาใช้บริโภค
-
ผักพื้นบ้านอาจเป็นทั้งพืชอาหารและพืชสมุนไพรอันมีคุณค่ามาก คือ นอกจากเป็นอาหารแล้ว ยังมีประโยชน์ให้คุณค่าทั้งด้านยาด้วย เราอาจเรียกผักที่มีคุณค่าทางยานี้ว่า ผักพื้นบ้านสมุนไพร ผักพื้นบ้านจึงมีคุณค่ามหาศาลอีกทั้งเป็นพืชที่หาได้ง่าย ราคาถูก และปราศจากยาฆ่าแมลง ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ไม่ต้องดูแลมาก ไม่ต้องปลูกบ่อย เพียงเก็บยอด ดอก ใบ ก็จะแตกหน่อชูช่อใบขึ้นมาใหม่ แม้ ว่าคนไทยเราได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาเรื่องผักพื้นบ้านสืบต่อกันมานานหลายร้อยปี มาแล้ว แต่น่าเสียดายที่ผักพื้นบ้านหลายชนิดถูกทำลาย ทอดทิ้งและลืมเลือนไป เนื่องจากมีพืชผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ นำมาปลูกในประเทศไทย เช่น ต้นหอม ผักชี ผักขึ้นฉ่าย ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกาดแก้ว ผักกวางตุ้ง ผักตั้งโอ๋ แครอท บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี กระหล่ำดอก หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น เข้ามาแทนที่
- ดังนั้น สมควรที่เราจะต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู วิจัยและพัฒนาหรือประยุกต์ ส่งเสริมการใช้เพื่อให้ผักพืชสมุนไพรและพื้นบ้านเป็นที่ยอมรับและอยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
|
เอกสารอ้างอิง
1.ผักผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง
2.ผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง